
การตั้งครรภ์คือช่วงเวลาที่สำคัญและทรงคุณค่าที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิตของผู้หญิง เพราะไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ชีวิตใหม่กำลังเติบโตอยู่ภายในร่างกายของเธอ สุขภาพของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพื่อให้แม่และลูกน้อยแข็งแรง ปลอดภัย และมีพัฒนาการที่ดีตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ คุณแม่ควรใส่ใจและปฏิบัติตามแนวทางการดูแลสุขภาพ โดยเริ่มจาก การฝากครรภ์ตั้งแต่ช่วงต้น (ภายใน 12 สัปดาห์แรก) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแพทย์จะสามารถติดตามสุขภาพของแม่และลูกได้ตั้งแต่เริ่มต้น และจะมีแพคเกจฝากครรภ์ ตรวจหาโรคที่อาจแฝงอยู่ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ธาลัสซีเมีย หรือการติดเชื้อบางชนิด และให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง รวมทั้งการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนบาดทะยัก
โภชนาการในช่วงตั้งครรภ์มีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ควรเน้นอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มี กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายของทารก ไข่ นม ผักใบเขียว ช่วยเสริมโฟเลตและแคลเซียม ปลาและถั่วต่าง ๆ เสริมโปรตีนและโอเมก้า-3 ข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดสี ให้พลังงานและไฟเบอร์ ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารเค็มจัด หวานจัด หรือไขมันสูง ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ต้องทำงานหนักขึ้น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมงจึงจำเป็น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงความเครียด และฝึกจิตใจให้สงบผ่านการฟังเพลงเบา ๆ ฝึกสมาธิ หรือพูดคุยกับคนใกล้ชิด เพราะสุขภาพจิตของแม่มีผลต่อสุขภาพจิตของลูกเช่นกัน การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง ลดอาการปวดหลัง บวมขา และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะสำหรับคนท้อง อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกิจกรรมใด ๆ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการหกล้มหรือแรงกระแทก สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดในระหว่างตั้งครรภ์ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดทุกชนิด เพราะมีผลต่อพัฒนาการของสมองและอวัยวะของทารก อาจทำให้เกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด หรือพิการแต่กำเนิด ยาบางชนิด ที่อาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาใด ๆ โรคเหงือกอักเสบและฟันผุอาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือทารกน้ำหนักน้อยได้ คุณแม่ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน และไปตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าทารกในครรภ์ยังไม่ลืมตาดูโลก แต่เขาสามารถรับรู้เสียง การเคลื่อนไหว และความรู้สึกของแม่ได้ พูดคุย ร้องเพลง หรือแม้แต่ลูบท้องเบา ๆ คือการส่งผ่านความรักและความผูกพันที่สำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกที่อบอุ่นผูกพันธ์กันและกัน